5 ชนเผ่า
ชนเผ่าลีซู(ลีซอ)
ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต – พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ ๔,๐๐๐ปีที่ผ่านมาพวกตนเคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ชาวลีซู ถึงเรื่องราวการอพยพว่า ได้อพยพมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุงประเทศพม่า เข้ามาตั้งถิ่น ฐานอยู่ที่บ้านลีซูห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย และโยกย้ายไปตั้งบ้านเรือน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่และสุโขทัย ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเองลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลายกับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำนั้นอยู่ พม่า จีน
จีนยูนาน
ชาวจีนที่ส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยนั้นคนไทยหรือคนล้านนารู้จักกันดีว่าเป็น “จีนฮ่อ” หรือ “คนฮ่อ” ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เดินทางค้าขายระหว่างจีนตอนไต้กับเมืองต่างๆในรัฐฉาน ล้านนา และพม่า ดังนั้นคนจีนมีมาจากภูเขาทางตอนเหนือของประเทศไทยในปัจจุบันจึงเรียกวาจีนฮ่อและพม่าเรียกว่า “จีนภูเขา” (ภูวดล, 2549, 503)การศึกษาทบทวนความรู้เรื่องจีนฮ่อในประเทศไทยนั้นมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สนใจและหาความหมายเกี่ยวกับคำว่าฮ่อ มีศาสตราจารย์เจีย ยัน จองและนักวิจัยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทที่ตีพิมพ์เผยแพร่ความหมายของคำว่าจีนฮ่อและจีนฮ่อในมิติต่างๆในฐานะที่เป็นชาติพันธุ์หนึ่ง โดยที่การศึกษานี้ใช้การอธิบายของนรเศรษฐ พิสิทฐพันพร 2548สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จีนฮ่อ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดลเรียบเรียงเป็นประเด็นต่างๆได้ดังนี้ (เจีย เยนจอง ,2537,114-118และนรเศรษฐ 2548)ชาวจีนจากมณฑลยูนนานได้เดินทางค้าขายในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมาช้านานแล้ว พ่อค้าชาวจีนจากมณฑลยูนนานเหล่านี้มีชื่อเรียกในภาษาล้านนาว่า “ฮ่อ” คำว่าฮ่อ หมายถึงชาวจีนซึ่งอยู่ที่มณฑลทางใต้ของจีน (เช่น จากมณฑลยูนนาน) และอาจจะรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่มาจากมณฑลนี้หรือมาจากมณฑลใกล้เคียงด้วย (เช่น จากมณฑลกวางสี และมณฑลเสฉวน)
ไทยใหญ่(ไต)
ชาวพม่าเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ว่า Shan ในเขตประเทศจีนชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่าไทยใหญส่วนคนไทย และคนลาวเรียกชนกลุ่มนี้ว่า เงี้ยว ส่วนพวก Kachins เรียกพวกนี้ ว่า Sam (Lebar and others’ 1964,p.192) คนไทยใหญเองเรียกตัวเองว่า “ไต” ไทยใหญตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพม่า ลาวไทยและในเขต ประเทศ จีน ตอนใต้ ในประเทศไทยพบชาวไทใหญอยู่ในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์และ แม่ฮ่องสอนหมู่บ้านของชาวไทยใหญจะตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มหุบเขา หรือบริเวณ ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ บ้านเรือนสร้างจากไม้ไผ่ยกพื้นสูงประมาณ ๘ ฟุต หลังคามุงด้วยหญ้าแห้งภายในบ้านจะมีเตาไฟมีห้องนอน บ้านแต่ละหลังจะมีสวนล้อมรอบ สัตว์เลี้ยงจะผูกอยู่บริเวณประตููบ้าน ชาวไทยใหญ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกข้าวโดยการ วิดน้ำเข้านาแบบนาดำโดยมีแปลงเพาะกล้าส่วนบริเวณที่มีน้ำน้อย จะใช้วิธีปลูกข้าวบนที่ดอน พืชชนิดอื่นๆ ที่ปลูกได้แก่ ฝ้าย ยาสูบ อ้อย ข้าวโพด ถั่ว มะเขือเทศ ส้ม กล้วย มะนาว มะม่วง มะละกอ เป็นต้น สัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย ม้า หมูไก่ เป็นต้น อุตสาหกรรมในครัวเรือนของ ไทยใหญ ได้แก่ การปั้นหม้อไห การแกะสลักการทำเครื่องเงิน การทอผ้าฝ้าย การทำกระดาษ เป็นต้น หน้าที่ของผู้หญิง ชาวไทยใหญ ได้แก่ ทอผ้า ตักน้ำ เก็บฟืน ตำข้าว ทำอาหาร จ่ายตลาดส่วนผู้ชาย ทำหน้าที่สร้างบ้านเรือน ทำนาทำไร่ อย่างไรก็ตามชายหญิง จะช่วยกันเพาะปลูกในฤดูหว่านไถและ เก็บเกี่ยว
กะเหรี่ยง
กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้
ชาวล้านนา (คนเมือง)
เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19 บริเวณภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทยซึ่งรวมไปถึง ดินแดนบางส่วนของประเทศพม่า จีน ลาว เคยเป็นที่ตั้งของชนกลุ่มหนึ่งที่มีการปกครองเป็นแคว้นอิสระ ในชื่อที่เรียกกันว่า ล้านนากลุ่มบ้านเมืองกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันทั้งในทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี และศิลปวัฒนธรรม มีเมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และมีความเจริญรุ่งเรืองมากในช่วง พุทธศตวรรษที่ 20-21 และได้เสื่อมสลายลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 แต่ได้พยายามกอบกู้เอกราชได้บ้างเป็นครั้งคราว จนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ได้ตกเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศสยาม ในพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของล้านนา ได้หล่อหลอมให้ผู้คนในดินแดนแห่งนี้มีแบบแผนทางศิลป วัฒนธรรม ประเพณี ต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นของตนเอง มีความแตกต่างไปจากผู้คนในดินแดนอื่น